ประวัติและตราสัญลักษณ์
ข้อมูลทั่วไป
อำนาจหน้าที่
วิสัยทัศน์-ยุทธศาสตร์
นโยบายของผู้บริหาร
อัตรากำลัง
แผนการจัดการความรู้
หมายเลขโทรศัพท์ภายใน
ผู้นำชุมชนตำบลทุ่งฝาย
โครงสร้างการบริหารงาน
ผู้บริหาร อบต.
สภา อบต.
หัวหน้าส่วนราชการ
โครงสร้างส่วนราชการ
สำนักงานปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองสวัสดิการสังคม
หน่วยตรวจสอบภายใน
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนการดำเนินงาน
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาของ อบต.
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ข้อบัญญัติทั่วไป
รายงานผลการปฏิบัติงาน
รายงานผลการดำเนินงานช่วง 6 เดือนแรก
รายงานผลการดำเนินงาน 12 เดือน
งานกิจการสภา
ประกาศลดขั้นตอน
รายงานการเงิน
รายงานการเงินรวม
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
งบแสดงฐานะการเงิน
แผนการใช้จ่ายเงินรวมรายไตรมาส
การจัดเก็บและหารายได้
แผนการจัดหาพัสดุ
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
รายงานรายรับ-รายจ่าย
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างการจัดหาพัสดุประจำปี
รายงานตรวจสอบภายใน
รายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
รายงานการวิเคราะห์งบการเงินประจำปี
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม/คำร้อง/เอกสาร
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลทุ่งฝาย
รายงานการวิจัยการประเมินความพึงพอใจของประชาชน
กฏหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อาเซียน ASEAN
คู่มือการร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 
ขณะนี้ 10 คน
สถิติวันนี้ 409 คน
สถิติเดือนนี้ 9213 คน
สถิติปีนี้ 29604 คน
สถิติทั้งหมด 577817 คน
ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2555
 
   
 
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย ขอเชิญชาวตำบลทุ่งฝายร่วมรณรงค์การคัดแยกขยะมูลฝอย และลดการใช้โฟม...
 
 
อำนาจหน้าที่
 
 
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย

         อำนาจหน้าที่ดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจเกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก (มาตรา 67 (1))

(2) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร ( มาตรา 68 (1))

(3) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าและแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา 68 (2))

(4) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา 68 (3))

(5) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา 16 (4))

(6) การสาธารณูปการ (มาตรา 16 (5))

2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา 67 (6))

(2) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 67 (3))

(3) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ(มาตรา 68 (4))

(4) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อย โอกาส (มาตรา 16 (10))

(5) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา  16 (2))

(6) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีของประชาชน (มาตรา 16 (5))

(7) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา 16 (19))

3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 67(4))

(2) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (มาตรา 68 (8))

(3) การผังเมือง (มาตรา 68 (13))

(4) จัดให้มีที่จอดรถ (มาตรา 16 (3))

(5) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง(มาตรา 16 (17))

(6) การควบคุมอาคาร (มาตรา 16 (28))

4. ด้านการวางแผน กรมส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา 68(6))

(2) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ (มาตรา 68 (5))

(3) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา 68 (7))

(4) ให้มีตลาด (มาตรา 68 (10))

(5) การท่องเที่ยว (มาตรา 68 (12))

(6) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ (มาตรา 68(11))

(7) การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา 16 (6))

(8) การพาณิชยกรรมและการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16 (7))

5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 67 (7))

(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูล ฝอยและสิ่งปฏิกูล
     (มาตรา 67 (2))

(3) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ (มาตรา 17 (12))

6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 67 (8))

(2) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  (มาตรา 67 (5))

(3) การจัดการศึกษา (มาตรา 16 (9))

(4) การส่งเสริมการศึกษา จารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม และการท่องเที่ยวของท้องถิ่น (มาตรา 17 (18))

 7. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง
     ดังนี้

(1) สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 45 (3))

(2) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็น
    (มาตรา
67 (9))

(3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน (มาตรา 16 (16))

(4) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 17 (3))

(5) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (มาตรา 17 (16))


        ภารกิจทั้ง 7 ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล สามารถแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝายได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วยการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝายจะต้องสอดคล้องกับ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำปางและนโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝายเป็นสำคัญ

 

หมายเหตุ มาตรา 67,68 หมายถึง พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม 2562

                  มาตรา 16,17 และ 45 หมายถึง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง

                  ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

 



 
 
 
     
 

Copyright © 2012-2024 โดย องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย - www.thungfai.go.th
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย ถ.ลำปาง-แจ้ห่ม อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง 52000 โทรศัพท์. 054-358693 โทรสาร 054-358693 ต่อ 21